ส่อง เทคโนโลยีดั้งเดิมของเซเว่นที่โดนใจคนทั้งเมือง          

เซเว่น-อีเลฟเว่น เป็นแฟรนไชส์ของร้านสะดวกซื้อ จำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มีสาขาอยู่ทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยก็มีมากกว่า 10,000 สาขา เฉพาะในกรุงเทพมหานครมีมากกว่า 500 สาขา เป็นร้านค้าปลีกที่มีเครือข่ายมากที่สุด โดยมียอดขายเฉลี่ย 65,019 บาท ต่อวันต่อสาขา ถือได้ว่า ธุรกิจของเซเว่นฯนั้น เติบโตได้ดีมากเลยทีเดียว ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงถึง ระบบของเซเว่นฯ ที่เราสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน

  • 7-Card (เซเว่นการ์ด) คือ บัตรสมาชิกเงินสดอัจฉริยะที่ได้แต้มจากการซื้อของในร้านเซเว่นฯ ทั้งนี้เพื่อเพิ่ม ความสะดวกสบายในการชำระสินค้าและบริการ พร้อมทั้งสิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่ามากมายที่ให้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการชำระค่าสาธารณูปโภคทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า ค่า โทรศัพท์มือถือ ซื้อตั๋วคอนเสิร์ต และบริการจากการผ่อนสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะทำให้ลูกค้านั้นประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทั้งยังชำระได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • แอปเซเว่นฯ เป็นแอปที่อำนวยความสะดวกสำหรับติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าโปรโมชั่นต่าง ๆ ที่จัดตามช่วงเวลา ใช้ในการสะสมเหรียญเพื่อใช้แลกสินค้าพรีเมี่ยม และร่วมสนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อชิงของรางวัล

แตกต่างอย่างลงตัวกับเทคโนโลยี เซเว่น ในยุค 4.0

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ทำให้เซเว่นฯต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบเซเว่นฯของตัวเองให้ทันโลกตามไปด้วย โดยในปัจจุบันนี้มีเซเว่นฯแห่งใหม่ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีคอนเซปที่ว่า “อวกาศ“ เพื่อเปิดประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้เข้ามาดูเซเว่นฯแบบโฉมใหม่ ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในร้านและตกแต่งร้านให้ดูเป็นอวกาศทั้งหมด อีกทั้งเป็นร้านต้นแบบนวัตกรรมด้านประหยัดพลังงาน มีระบบเติมเฟรชแอร์ ระบบปรับอากาศเพิ่มเติมอากาศบริสุทธิ์ในร้าน เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นอกจากนั้น มีเทคโนโลยีที่เพิ่มเข้ามาใช้อีก อาทิเช่น

  • จอดิจิทัลแสดงโลโก้ เป็นจุดสังเกตให้เห็นร้านเซเว่นฯ อย่างชัดเจน เป็นแบบโปร่งใส (Digital Transparent Display )ใช้เทคโนโลยี MESH OLED ในการกระจายแสงให้เกิดเป็นภาพที่คมชัดสามารถมองทะลุผ่านได้ ใช้แสดงข้อมูลและภาพเคลื่อนไหวได้หลากหลายรูปแบบรวมถึงโปรโมชั่นต่าง ๆ ของทางร้าน
  • ที่จอดจักรยานอัจฉริยะ เปิดให้บริการเช่าจักรยานโอโฟ่ (OFO) ลดการใช้รถส่วนตัว และมี EV Parking สถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ระบบไฟฟ้า เพื่อลดการใช้พลังงาน
  • จอแสดงเมนูและภาพอาหาร (Digital Menu Board) และตู้แชร์สินค้าประเภทอาหารสดที่แปลกตาไปจากสาขาอื่น ๆ ซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถรักษาอุณหภูมิสินค้าให้คงที่และสดใหม่อยู่เสมอ (Open showcase) ที่สำคัญประหยัดพลังงานได้มากถึง 30%
  • จุดชำระเงินด้วยตนเอง (Self Check Out) เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการให้บริการที่ทำได้ด้วยตนเอง
  • Smart Wave สามารถอุ่นอาหารได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอพนักงาน

ไฮไลท์ของทางร้านคือ น้องแมงมุม หุ่นยนต์ที่สามารถจับการเคลื่อนไหวและสื่อการกับลูกค้าได้ในระยะใกล้เช่น ยกมือไหว้สวัสดี โบกมือทักทาย สามารถเคลื่อนที่ไปได้รอบร้าน 24 ชม. โดยไม่ใช้แบตเตอรี่อีกด้วย ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ลูกค้าประทับใจนั่นเอง

และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่ถูกเพิ่มเข้ามาเท่านั้นยังมี เทคโนโลยีที่น่าสนใจอีกมากมายที่เข้ามาปรับใช้ในร้านเซเว่นแห่งนี้ ซึ่งคุณสามารถเดินทางไปสัมผัสได้ด้วยตนเองที่ ซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 ถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี ระบบสารสนเทศของเซเว่นถือเป็นระบบของร้านสะดวกซื้อที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในยุคปัจจุบัน ถือเป็นตัวอย่างที่ดีกับร้านสะดวกซื้อเจ้าอื่น ๆ ซึ่งอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ทำให้เซเว่นฯครองใจผู้คนทุกระดับชั้นเพราะ สินค้าได้มาตรฐาน ตามหลักสากล มีการบริการที่ดี รอยยิ้มที่ส่งตรงถึงลูกค้า นั่นเอง

หมดกังวลกับปัญหาระบบล่ม เมื่อนำเทคโนโลยี Microservices มาใช้งานได้จริง

สำหรับเหล่านักพัฒนาเว็บไซต์และเว็บแอปพลิเคชัน นอกเหนือจากการพัฒนาระบบให้มีฟังก์ชั่นที่ถูกต้องตามความต้องการ (Requirements) แล้วนั้น ยังคงต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้งาน (Performance) การพัฒนาปรับปรุง (Enhancement) และการซ่อมบำรุง (Maintenance) อีกด้วย หากการออกแบบระบบ ก่อให้เกิดอุปสรรคในการปรับแก้ และซ่อมบำรุงเว็บแอปพลิเคชัน ประกอบกับหากเว็บเหล่านั้นมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลา คงเป็นการยากที่จะระงับการใช้งานเว็บไซต์และเว็บแอปพลิเคชันชั่วคราว และคงจะสร้างประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นักแก่ผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เทคโนโลยี Microservices จะสามารถช่วยลดปัญหาการระงับใช้ระบบชั่วคราว หรือ ทั้งระบบล่มจนไม่สามารถใช้งานได้

รู้จักกับ Microservices กันก่อน

Microservices แปลตรงตัวก็คือ บริการ (service) ขนาดเล็ก ๆ หลาย ๆ ตัว โดยที่ในแต่ละ service จะมีหน้าที่ในการทำงานเพียงแค่อย่างเดียวเท่านั้น แต่ละ service จะต้องมีอิสระต่อกันไม่ผูกพันกับส่วนอื่น ๆ และอยู่ได้ด้วยตัวเอง (autonomous) การออกแบบ service จะต้องรองรับการทดแทนได้ เพื่อที่ว่า ถ้า service ตัวใดตัวหนึ่งไม่สามารถใช้งานได้ต้องปิดตัวลง หรือต้องการการปรับปรุงใหม่เนื่องด้วยความต้องการ (Requirements) เปลี่ยนแปลง หรือต้องการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ ระหว่างที่ระงับการใช้งาน service ตัวนั้น service ตัวอื่น ๆ จะต้องยังคงต้องสามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ

ยกตัวอย่างเช่น ระบบเว็บไซต์จองโรงแรม ก็อาจจะแบ่ง service ออกเป็นย่อย ๆ เช่น service สำหรับค้นหาโรงแรม service สำหรับลงทะเบียนสมาชิก service สำหรับจองโรงแรม service สำหรับยกเลิกการจอง service สำหรับรีวิวโรงแรมแ เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น การออกแบบโครงสร้างและแบ่งส่วน Microservices รวมถึงการวางแผนการส่งต่อข้อมูลระหว่าง service เป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด

ระบบล่มคืออะไร?

ข้อผิดพลาดในระบบนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป คงไม่มีระบบใดในโลกที่ปราศจากข้อผิดพลาดเลย โดยข้อผิดพลาดเหล่านั้นอาจเกิดได้จากเหตุทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยเหตุทางตรงก็คือความผิดพลาดในฟังก์ชั่นการทำงานจริง ๆ หรือที่เรียกกันว่า bugs ที่หนักหนาจนทำให้ระบบติดขัดทำงานต่อไม่ได้ ในทางอ้อมอาจเกิดจากการที่ผู้ใช้จำนวนมาก ใช้งานหนักจนเกิดขีดจำกัดของระบบ จนกระทั่งระบบรับไม่ไหว จึงล่มและไม่สามารถทำงานต่อไปได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้ใช้งานต้องพบเจอกับข้อความยุ่งเหยิงหรือ error messages หรือหน้าจอค้างไม่ตอบสนองอีกต่อไป

ด้วยเหตุนี้เอง การที่ระบบถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อรองรับเหตุการณ์เมื่อระบบเกิดข้อผิดพลาด จะทำให้ป้องกันการล่มของระบบทั้งหมดได้ จะเห็นว่าเมื่อระบบถูกออกแบบมาในรูปแบบของ Microservices จะทำให้การตรวจสอบเพื่อค้นหาส่วนที่ต้องแก้ไขเมื่อประสบปัญหาเป็นไปได้ง่าย ทำให้ระบบสามารถเรียกกลับคืนได้ไว รวดเร็ว และในระหว่างการแก้ไข service ใด ๆ นั้น service อื่น ๆ จะยังคงทำงานได้ต่อไปตามปกติไม่มีการหยุดชะงักหรือ crash ทั้งระบบ นั่นถือว่า ระบบถูกออกแบบมาได้ดีแล้ว